“สัปเหร่อ” สุดเจ๋ง คว้า 7 รางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
1 min read

“สัปเหร่อ” สุดเจ๋ง คว้า 7 รางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567

“สัปเหร่อ” สุดเจ๋ง คว้า 7 รางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567

ถือเป็นงานประกาศรางวัลทรงคุณค่าของวงการภาพยนตร์ไทยที่จัดต่อเนื่องยาวนานถึง 32 ปี สำหรับงานประกาศรางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566” จัดขึ้นโดย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด (ทรูโฟร์ยู ช่อง 24) ปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ “แสงแห่งกันและกัน” ซึ่งไอเดียมาจาก “แสงแห่งศรัทธา”

ที่ผู้สร้างหนังและผู้ชมภาพยนตร์ต่างร่วมกันรักษาและสอดส่องดูแล เปรียบได้ดั่ง “ความร่วมมือร่วมใจในกันและกัน” เพื่อก้าวไปสู่ “ยุคทอง” ครั้งใหม่ของหนังไทยต่อไป โดยจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2567 ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

เปิดฉากงานด้วยพาเหรดเดินพรมแดงจากเหล่า ผู้กำกับ นักแสดง จากค่ายภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง ได้แก่ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์, ไอซ์ซึ-ณัฐรัตน์ นพรัตยากรณ์, มุกดา นรินทร์รักษ์, โตโน่-ภาคิน คำวิไลศักดิ์, โต้ง-บรรจง ปิสันธนะกูล (ผู้อำนวยการสร้าง), โขม-ก้องเกียรติ โขมศิริ (ผู้กำกับ), วรรณแวว และ แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ (ผู้กำกับ), อัตตา เหมวดี (ผู้กำกับ), มุก-ปิยะกานต์ บุตรประเสริฐ (ผู้กำกับ), แหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์,อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล จี๋-สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร, สหัสชัย ชุมรุม, ทราย-อินทิรา เจริญปุระ, แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะ, ณัฏฐ์ กิจจริต, วันเดอร์เฟรม, ลุค อิชิคาว่า, เอก-ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, ต่าย-เพ็ญพักตร์ ศิริกุล, มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน, ใบปอ-ธิติยา จิระพรศิลป์, โทนี่ บุยเซอเรท์, จั๊มพ์-พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ, ต้องเต-ธิติ ศรีนวล, ตาต้า-ชาติชาย ชินศรี, คิมม่อน-วโรดม เข็มมณฑา, รัฐบาล พรหมสาขา ณ สกลนคร, เมเบิ้ล-สิริวลี สิริวิบูลย์, ลิลลี่ เหงียน, รัก-สุลักษมิ์ ศิริภัทรพงศ์, มู่หลาน-เสกพร สุพรรณธนพงษ์, แนส-นภิสรา สนธิขันธ์, บาส-อัศวภัทร์ ผลพิบูลย์ และ ต๋อง-ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา
จากนั้นสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติร่วมรับชมวิดิโอเพื่อระลึกถึงบุคคลในวงการภาพยนตร์ผู้ล่วงลับ ก่อนที่พิธีกรกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พร้อมนำเข้า VTR รวมหนังไทยทั้งหมดในปี 2566 ที่เข้าชิงรางวัลในปีนี้ทั้ง 54 เรื่อง “สะพานรักสารสิน 2216”, “ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์”, “ทิดน้อย”, “ปรากฏการณ์”, “เธอกับฉันกับฉัน”, “ปลายทางฝัน ฉัน..มีเธอ”, “Me and The Magic Door”, “บังเอิญรัก ข่อยฮักเจ้า”, “เกม/ล่า/ตาย”, “รักได้แรงอก” , “ขุนพันธ์ 3”, “แสงกระสือ 2, “บ้านเช่า…บูชายัญ”, “เสือเผ่น๑”, “อาตมาฟ้าผ่า”, “หุ่นพยนต์” , “รักแรกโคตรลืมยาก”, “ผีฮา คนเฮ”, “เซียนหรั่งเดอะมูฟวี่”, “เด็กกว่าแล้วไง ก็หัวใจมัน I Rock You”, “ผู้บ่าวไทบ้าน อวสานอินดี้ ทองคำ+ปราณี”, “The Last Breath of Sam Yan”, “อีหนูอันตราย”
“ลอง ลีฟ เลิฟว์”, “ดับแสงรวี”, “คุณตูบสายดาร์ก ปิดเมืองกัด”, “มอนโด รัก I โพสต์ I ลบ I ลืม”, “นะหน้าทอง”, “แมนสรวง”, “ไปรษณีย์ 4 โลก”, “100 วัน เกมอาฆาต”, “ปราณี”, “บินล่าฝัน”, “ธีซิส อมตะพันธุ์สยอง”, “กุมาร”, “ของแขก”, “สัปเหร่อ”, “นักรบมนตรา : ตำนานแปดดวงจันทร์”, “14 อีกครั้ง”, “อยากตาย อย่าตาย มรณาค่าเฟ่”, “ธี่หยด”, “เพื่อน (ไม่) สนิท”, “เรดไลฟ์ รักละเลย”, “นาค เรื่องเล่าจากชาวบ้าน, “มนต์ดำสั่งตาย”, “อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง”, “ลับแลคำชะโนด”, “4 Kings2”, “สลิธ โปรเจกต์ล่า”, “สมมติ”, “ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง”, “อีสาน ซอมบี้”, “อวสาน เนตรนารี” และ “แฟนฉัน ความทรงจำสีจาง”
ในปีนี้ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ได้มอบรางวัล สุพรรณหงส์เกียรติยศ (Lifetime Achievement Award) .ให้กับ รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลย์วัฒน์ บิดาแห่งวิชาภาพยนตร์สมัยใหม่ไทย มอบโดย คุณธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ อินทิรา เจริญปุระ จาก 4Kings2, รางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ จาก เพื่อน (ไม่) สนิท , รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ได้แก่ ขุนพันธ์ 3 จาก บริษัท ฮิวแมน ฟาร์ม วีเอฟเอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด, บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด, บริษัท ดาร์ค อาร์มี่ สตูดิโอ จำกัด, รางวัลเทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม ได้แก่ “ธี่หยด” โดย มีนา จงไพบูลย์, อัยมี่ อิสลาม, ศิวกร สุขลังการ, อาภรณ์ มีบางยาง และ รุจิระ ไชยภัฏ, รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้แก่ “แมนสรวง” โดย กิจจา ลาโพธิ์ และ นักรบ มูลมานัส, รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ได้แก่ “แมนสรวง” โดย นักรบ มูลมานัส และ สุประสิทธิ์ ภูตะคาม
รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ได้แก่ “เธอกับฉันกับฉัน” โดย ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล, รางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ “สัปเหร่อ” เพลง ‘ยื้อ’ : ปรีชา ปัดภัย, เซิ้ง มิวสิก, รางวัลบันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม ได้แก่ “ธี่หยด” โดย เอลวิน ที และ บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด, รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ “เพื่อน(ไม่)สนิท” โดย ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต, รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ “เรดไลฟ์” โดย บุญยนุช ไกรทอง , รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ “The Last Breath of Sam Yan” จาก ยัง ฟิล์ม เมกเกอร์ ออฟ ไทยแลนด์ และ บริษัท ฟองเมฆ จำกัด, สามย่านฟิล์ม, รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ “สัปเหร่อ” โดย ธิติ ศรีนวล
และยังมีรางวัลพิเศษ คือ รางวัลภาพยนตร์ไทย ยอดนิยมประจำปี 2566 ได้แก่ ลอง ลีฟ เลิฟว์ มอบโดย คุณพรชัย ว่องศรีอุดมพร เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ มอบโดย คุณประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม


รางวัลผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ ธิติยา จิระพรศิลป์ จาก “เธอกับฉันกับฉัน”, รางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้แก่ ชาติชาย ชินศรี จาก “สัปเหร่อ” ,รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ธิติ ศรีนวล จาก “สัปเหร่อ” มอบโดย คุณสถาพร เที่ยงธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม, ภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566 ได้แก่ สัปเหร่อ ” จาก บริษัท ไทบ้าน สตูดิโอ จำกัด และ บริษัท มูฟวี่ พาร์ทเนอร์ มอบโดย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี, รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ “สัปเหร่อ” จาก บริษัท ไทบ้าน สตูดิโอ จำกัด และ บริษัท มูฟวี่ พาร์ทเนอร์ ประกาศและมอบโดย คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
จากนั้น คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี, คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, คุณประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม, คุณธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, คุณพรชัย ว่องศรีอุดมพร เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, คุณวิชัย กุลธวัชชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน),คุณสุวรรณี ชินเชี่ยวชาญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนขึ้นเวทีถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน เรียกว่าทุกรางวัลในปีนี้ เป็นการสร้างความภาคภูมิใจและส่งเสริมอุตสาหกรรมวงการภาพยนตร์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังโดยแท้จริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *