คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จับมือสถาบัน Wefly และบริษัท Jinpao ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน รองรับการฟื้นตัวอุตสาหกรรมการบิน
1 min read

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จับมือสถาบัน Wefly และบริษัท Jinpao ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน รองรับการฟื้นตัวอุตสาหกรรมการบิน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จับมือสถาบัน Wefly และบริษัท Jinpao ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน รองรับการฟื้นตัวอุตสาหกรรมการบิน

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MOU) ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (BTU) และ Wefly International Academy (WF) และ Jinpao Precision Industry Co.,Ltd (JP) เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน และพัฒนาบุคลากรด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน

โดยมีผู้ร่วมลงนามฯ ประกอบด้วย อาจารย์สมมาตร ทองคำ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี , Mr. Chung Kuo-Sung ประธานบริหาร Jinpao Precision Industry Co.,Ltd. , MS. Jessica Chang กรรมการผู้จัดการ Wefly International Academy และ Mr. Luca Curcio ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม Wefly International Academy กับ รศ.ดร.สถิตย์ นิยมญาติ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผศ.ดร.เสงี่ยม บุษบาบาน ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีคณะศิลปศาสตร์และผู้อำนวยการสำนักวิชาการ อาจารย์กฤษติกร เจริญผล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ร่วมเป็นสักขีพยาน

Wefly International Academy เป็นสาขาของสถาบัน Quality Control Management (QCM) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรด้านช่างซ่อมบำรุงอากาศยานที่ผ่านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ EASA (European Union Aviation Safety Agency) ในระดับ A1 และ B1.1 โดยสถาบันฝึกอบรม WeFly รับผิดชอบการฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอากาศยานที่สนใจ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผ่านมาตรฐานการเป็น Aircraft Technician ระดับสากล เป็นการเพิ่มโอกาสให้นักศึกษานอกจากการเลือกเรียนในหลักสูตรปกติ ยังสามารถเลือกฝึกอบรมที่ได้รับรองมาตรฐานโดย EASA เปิดโอกาสให้สามารถทำงานในระดับสากลได้

Jinpao Precision Industry Co.,Ltd. ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากอะลูมิเนียม โลหะ และเหล็กที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น กล่องหน้าจอห้องเครื่องนักบิน ผนังห้องเครื่อง ชิ้นส่วนแผงวงจรที่เป็นอะลูมิเนียม และโลหะทั้งหมดกว่า 1,000 ชิ้นของเครื่องบินแอร์บัส  อีกทั้งยังได้การรับรองมาตรฐาน Aerospace Quality Management (AS9100) โดยบริษัท Jinpao รับผิดชอบเป็นสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับทักษะ และประสบการณ์ตรงจากการทำงานกับผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษา นอกจากการทำงานเป็นวิศวกรในสายการบินต่างๆแล้ว ยังสามารถเข้าทำงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้อีกด้วย

ความร่วมมือนี้เป็นการส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย สู่อุตสาหกรรมการบินในมาตรฐานสากล ทั้งนี้การ MOU จัดให้มีขึ้น เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

#thainews7

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *